เมนู

เพราะความยินดีเพลินเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้น
ไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น
มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยัง
ไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่อง
ประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้

อรูปฌาน 4


[22] ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจาย-
ตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับ
ปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่ เธอ
พิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้าง
ขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือ
สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลินเพลินในธรรมคือสมถะและ
วิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เธอย่อมเป็น
โอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียรมีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่

ยังไม่สิ้นย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น
เครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ดูก่อนคหฤบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌานด้วย
มนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการ
ทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่าแม้วิญญาณัญจายตนสมาบัตินี้
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
ขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่
ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
ไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือ
สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เธอย่อม
เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลาย
ที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น
เครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.
ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วย
มนสิการว่า อะไร ๆ ก็ไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง
เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ อันเหตุ
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้าง
ขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือ

สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือ
สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เธอย่อม
เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.
ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลาย
ที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น
เครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

อุปมา 2 อย่าง


[23] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดี ชาวเมือง
อัฏฐกะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ บุรุษ
กำลังแสวงหาขุมทรัพย์ขุมหนึ่ง ได้พบขุมทรัพย์ถึง 11 ขุมในคราวเดียวกัน
ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น กำลังแสวงหาประตูอมประตูหนึ่ง ได้พบประตู
อมตะถึง 11 ประตูในคราวเดียวกัน โดยการฟังเท่านั้น.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรือนของบุรุษมีประตู 11 ประตู เมื่อเรือนนั้นถูก
ไฟไหม้ บุรุษเจ้าของเรือนอาจทำตนให้สวัสดี โดยประตูแม้ประตูหนึ่ง ๆ ได้
ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จักอาจทำตนให้สวัสดีได้โดยประตูอมตะ แม้ประตู
หนึ่ง ๆ แห่งประตูอมตะ 11 ประตูนี้.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันชื่อว่าอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ จักแสวงหาทรัพย์
สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์ ก็ไฉน ข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านพระ-